ONE MAP ฉบับเข้าใจง่าย โดย พลเอก วสันต์ สุริยมงคล

ONE MAP ฉบับเข้าใจง่าย โดย พลเอก วสันต์ สุริยมงคล

โครงการ ONE MAP หรือการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4000 ได้ถูกกล่าวถึงในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะในแง่การตั้งข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับผลประโยชน์ของเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม การเดินทางของโครงการดังกล่าว มีที่มาที่ไปอย่างไร และเหตุใดจึงจำเป็นต้องมีโครงการนี้เกิดขึ้น ไม่ได้ถูกพูดถึงมากนัก และมีหลายครั้งที่โครงการ ONE MAP ถูกเหมารวมกับโครงการอื่นๆ

ซึ่งทาง พลเอกวสันต์ สุริยมงคล รองประธานอนุกรรมการขับเคลื่อน และ ประธานอนุเตรียมการด้านกฎหมาย การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้

" ในปัจจุบัน การกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ กำหนดขึ้นจากหลายหน่วยงาน และเป็นการกำหนดแนวเขตประเภทที่ดินโดยกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งไม่มีความเป็นเอกภาพ และก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน" 

ข้อสรุปปัญหาที่พบ มีดังนี้

1.ในส่วนของการประกาศแนวเขตที่ดินของรัฐทับซ้อนกัน พลเอก วสันต์ สุริยมงคล กล่าวว่า พื้นที่บางแห่งมีหน่วยงานดูแลรับผิดชอบมากถึง หน่วยงาน ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดินทั้งระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง และกับประชาชน
2.มีความยุ่งยากในการตรวจสอบแนวเขตที่ดิน เนื่องจากแผนที่แนบท้ายกฎหมายมีมาตราส่วนหลายขนาด ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
3.เกิดปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนในการนำไปใช้ในพื้นที่จริงและขาดการยอมรับจากประชาชน เนื่องจากการใช้แผนที่มาตราส่วนขนาดเล็ก

จากสภาวการณ์ดังกล่าว พลเอกวสันต์ สุริยมงคล มองว่าเป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ และเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ดังนั้น one map จึงต้องดำเนินการเรื่องสำคัญ ๆ 2 เรื่อง คือ

"ปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐทั้งสิ้น ให้เป็นเส้นเดียวกัน ไม่เหลื่อมกันอีกต่อไป และแก้ไขการทับซ้อนของที่ดินที่หน่วยงานถือครองอยู่ โดยใช้หลักว่า 1 พื้นที่ 1 หน่วยงานรับผิดชอบ"





การบริหารจัดการที่ดินของรัฐที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ภาครัฐกำหนดนโยบายเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการแก้ไขปัญหาความยากจนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างแรงกดดันให้เกิดขึ้นกับการเข้าใช้ประโยชน์จากที่ดินทั้งของรัฐและเอกชนสำหรับใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนา ทำให้ทรัพยากรที่ดินมีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างไม่มีขีดจำกัด การขยายตัวอย่างรวดเร็วของภาคการเกษตรที่เร่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกกระตุ้นให้เกิดการบุกเบิกพื้นที่ป่าไม้เพื่อทำการเกษตร รูปแบบการขยายพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทยเปลี่ยนไปจากภาพเดิม พื้นที่สูงจำนวนมากถูกบุกเบิกเพื่อการทำการเกษตร และเพื่อการท่องเที่ยว นำไปสู่การทำลายระบบนิเวศที่ยากจะฟื้นคืนกลับมา การขยายตัวของภาคเมืองและภาคอุตสาหกรรมเข้าไปในพื้นที่ราบในภาคเกษตรนำไปสู่การสูญเสียระบบนิเวศและสร้างปัญหามลพิษ
การบริหารจัดการที่ดินของรัฐในอดีตสร้างปัญหาความขัดแย้งและกระตุ้นให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมนำไปสู่ความเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากรายงานการปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน พบว่าปัญหาในการบริหารจัดการที่ดินเกิดจากปัญหาหลัก 7 ประการ ได้แก่
  1. การบุกรุกพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ
  2. ความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดิน
  3. การกระจายการถือครองที่ดินทากิน
  4. การไร้ที่ดินทำกิน
  5. การไม่ทำประโยชน์ในที่ดินหรือการใช้ที่ดินหรือการใช้ที่ดินไม่เต็มศักยภาพ
  6. การถือครองที่ดินขนาดใหญ่
  7. ปัญหาด้านการบริหารจัดการที่ดิน ดังนั้น การบริหารจัดการที่ดินของรัฐอย่างบูรณาการ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินของประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม

พลเอกวสันต์ สุริยมงคล ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า

"มีความเข้าใจกันว่า one map จะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งประเทศ ถึงขั้นเกิดกลียุค ทีเดียว 
จึงขอสรุปดังนี้ครับ

- ปัญหาเรื่องที่ดินเกิดขึ้น คงอยู่ และมีอยู่แล้วในประเทศไทย ตราบที่หน่วยงานของรัฐยังใช้แนวเขตในปัจจุบันที่ต่างหน่วยต่างขีดขึ้น one map ไม่ใช่ผู้สร้างปัญหาเหล่านี้

- one map เสียอีกจะลดปัญหาเหล่านี้ลงมากกว่าครึ่ง เพราะปัญหาส่วนใหญ่ในปัจจุบันคือการทับซ้อนของที่ดินของรัฐกันเอง ซึ่งมักได้ยินกันบ่อย ๆ ที่ป่าไม้ หรือ อุทยาน หรือ สปก. กันแน่ เพราะทุกหน่วยก็บอกว่าเป็นที่ของตน one map จะทำให้การทับซ้อนของหน่วยงานรัฐเป็นศูนย์ ปัญหานี้จะหมดไปทันที

- ปัญหาเพียงอย่างเดียวที่เหลืออยู่คือ การทับซ้อนระหว่างที่ดินรัฐ และเอกชน ซึ่งการแก้ปัญหาก็มี
แนวทางอยู่แล้วค่อนข้างชัดเจน เพราะเหตุว่าการทับซ้อนเหล่านั้นต่อไปจะเป็นการทับซ้อนกับหน่วยงานรัฐเพียงหน่วยเดียว (1 พื้นที่ 1 หน่วยงานรับผิดชอบ) การแก้ปัญหาก็ด้วยกฎหมายของหน่วยงานนั้น ๆ หรือเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ได้เลย"

สรุปได้ว่า
one map ไม่ใช่ผู้สร้างปัญหาครับ แต่จะแก้ปัญหาเรื่องที่ดินให้ชัดเจน รัฐจะสามารถเข้าบริหารจัดการที่ดินของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในการทำงานของคณะฯ ONE MAP นั้น จำเป็นต้องมีการประชุมหลายฝ่าย พลเอกวสันต์ สุริยมงคล  ซึ่งเคยเป็นประธานในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ  แบบบูรณาการ ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ว่า
"เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตเพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรค ร่วมแก้ปัญหาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินการ และเพื่อให้การจัดทำข้อมูลการปรับปรุงแผนที่ดินของรัฐที่ถูกต้อง"

จากการทำงานหนักของคณะกรรมการฯ ONE MAP และการเร่งรัดจากนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 ซึ่งได้สั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เร่งดำเนินการพิจารณากำหนดแนวเขตป่าไม้ใหม่ โดยจัดทำเป็นแผนที่ดิจิทัล มาตราส่วน 1 : 4000 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบแนวเขตป่าไม้
ทางคณะกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ได้มีการวางเป้าหมายการดำเนินงาน (Roadmap) ไว้ดังนี้

Comments